วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การเลี้ยงไส้เดือน


การเลี้ยงไส้เดือน

ปัจจุบันในประเทศไทยมีการเลี้ยงไส้เดือนดินเพื่อผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินจำหน่ายทางการค้าหลายแห่งแต่ยังไม่เคยมีการผลิตโปรตีนจากไส้เดือนดิน ดังนั้นข้อมูลในส่วนนี้จะเป็นเรื่องการผลิตโปรตีนไส้เดือนดินทางการค้าที่ได้จากต่างประเทศ สรุปได้คือ หารผลิตโปรตีนไส้เดือนดินในทางการค้า ผลผลิตที่ได้จะมีคุณภาพดีหากตัวไส้เดือนดินที่นำมาใช้ในการผลิตเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ ได้มาจากฟาร์มเลี้ยงไส้เดือนดินขนาดใหญ่ ที่ใช้มูลหรือของเสียจากสัตว์ปริมาณมากในการเลี้ยงไส้เดือนดิน เนื่องจากมูลสัตว์เหล่านั้น สามารถเพิ่มประชากรของไส้เดือนดินได้มากและเจริญเติบโตได้น้ำหนักดี ทำให้ได้ตัวไส้เดือนดินที่นำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารโปรตีนมีปริมาณมากและมีคุณภาพ นอกจากนี้ หลักเกณฑ์การผลิตที่สำคัญในการนำไส้เดือนดินมาผลิตเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ทางการค้าจะต้องผลิตให้คุ้มค้าทางเศรษฐศาสตร์ด้วย ในสมัยก่อนการผลิตโปรตีนจากไส้เดือนดินจะต้องใช้แรงงานคนในการคัดเลือกไส้เดือนดินออกจากมูลไส้เดือนดินจำนวนมากทำให้สิ้นเปลืองแรงงานและต้นทุนในส่วนของค่าแรงมาก ซึ่งเป็นอุปสรรคที่สำคัญในการผลิตโปรตีนไส้เดือนดินทางการค้าทำให้ไม่ประสบผลสำเร็จ แต่ปัจจุบันสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้แล้วโดยใช้เครื่องคัดแยกไส้เดือนดินที่มีประสิทธิภาพที่ดีกว่า ทำให้สามารถทำการแยกไส้เดือนดินออกจากมูลไส้เดือนดินได้อย่างรวดเร็วและใช้แรงงานคนน้อย

















เครื่องแยกไส้เดือนดินออกจากมูลดิน

จากการวิเคราะห์คุณค่าทางอาหารของโปรตีนที่ได้จากไส้เดือนดิน พบว่า คุณค่าทางอาหารที่ได้จากไส้เดือนดิน ประกอบด้วย กรดอะมิโน กรดไขมัน แร่ธาตุและวิตามิน ซึ่งพบว่ามีปริมาณมากและมีคุณค่าเหมาะแก่การใช้เป็นอาหารสำหรับเลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะ ปลา ปลาไหล ลูกไก่ สัตว์ปีกทุกชนิด และ หมู โดยใช้ทดแทนอาหารจากเนื้อ และ ปลาได้ดี สำหรับการพิจารณาการผลิตทางเศรษฐศาสตร์ ในแง่ราคาผลผลิตที่ได้ ต่อการนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์เพื่อการค้า ในเรื่องนี้ Sabine ได้คำนวณราคา เปรียบเทียบอาหารโปรตีนเลี้ยงสัตว์ที่ผลิตจากการใช้เนื้อสัตว์ในโรงงานผลิตอาหารสัตว์ที่ประเทศออสเตรเลีย กับการใช้ไส้เดือนดินผลิตเป็นอาหารโปรตีนเลี้ยงสัตว์ จากการทดสอบคุณค่าทางอาหารในข้างต้น พบว่า การใช้เนื้อผลิตเป็นอาหารโปรตีนเลี้ยงสัตว์ปีกทางการค้า จะมีราคา 7,680 บาท/ตัน แต่ถ้าใช้ไส้เดือนดินในจำนวนที่เท่ากัน พบว่าราคาสูงถึง 9,440 บาท/ตัน และอาจสูงถึง 12,000 บาท/ตัน ซึ่งเป็นราคาต้นทุนที่สูงกว่าหลายเท่า อาจไม่คุ้มค่าในทางเศรษฐศาสตร์ ในการใช้โปรตีนการไส้เดือนดินในการเลี้ยงสัตว์เชิงการค้า
ดังนั้นการเลี้ยงไส้เดือนเพื่อการค้าต้นทุนอาจยังสูง แต่ปัจจุบัน การส่งออกไส้เดือนดินอบแห้งไปยังต่างประเทศยังทำเงินให้ได้พอสมควร

โรงเรือนในการเลี้ยงไส้เดือน

การเตรียมโรงเรือนผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน
โรงเรือนกำจัดขยะเพื่อผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน ต้องมีหลังคากันฝนและพรางแสง เนื่องจากไส้เดือนดินไม่ชอบแสงสว่าง ในบริเวณบ่อเลี้ยงต้องมีตาข่ายปิดด้านบน หรือใช้ตาข่ายกั้นบริเวณด้านข้างรอบโรงเรือนเพื่อป้องกันศัตรูของไส้เดือน
บ่อเลี้ยงไส้เดือน กว้าง ประมาณ 1 เมตรความยาวแล้วแต่ต้องการ และมีความลึกไม่เกิน 0.5 เมตรจะใช้เป็นบ่อเลี้ยงที่ใช้ผลิตปุ๋ยหมัก มูลไส้เดือนดินจากวัสดุอินทรีย์ได้ดีและสะดวกในการจัดการ
บ่อเก็บน้ำหมักมูลไส้เดือนดิน ควรก่อสร้างบริเวณด้านข้างโรงเรือนหรือด้านหลังโรงเรือนให้น้ำหมักจากบ่อเลี้ยงไส้เดือนไหล เข้าไปเก็บไว้ในบ่อเก็บน้ำหมักได้ง่าย ขนาดของบ่อเก็บน้ำหมักจะมีขนาดเล็กกว่าบ่อเลี้ยงไส้เดือนตามความเหมาะสมของปริมาณ น้ำหมักที่ได้
การเตรียมวัสดุรองพื้นเพื่อเป็นที่อาศัยของไส้เดือนดิน
ใช้วัสดุอินทรีย์สด เป็นวัสดุรองพื้นหนาประมาณ 6 นิ้ว โดยเน้นส่วนที่เป็นผักสีเขียว วัชพืช ขยะสดโดยจะใช้ปุ๋ยคอกโรยบนหน้า ให้หนาประมาณ 2 นิ้ว โรยปูนขาวให้ทั่วบริเวณ แล้วจึงให้ความชื้นเล็กน้อยประมาณ 20%ของน้ำหนักขยะสดหรือให้เปียกชุ่มแต่ไม่ให้มีน้ำ แช่ขังทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน จะพบว่าเกิดขบวนการหมัก สังเกตได้โดยมีความร้อนที่สูงขึ้นทิ้งไว้ประมาณ 4-6 สัปดาห์ความร้อนที่เกิดขึ้นจะ หายไปหรืออาจจะเร็วกว่านี้ ถ้ามีการหมักในกองที่มีความหนาน้อยกว่าที่กำหนดไว้ การหมักที่สมบูรณ์จะทำวัสดุมีสีเข้มจนเป็นสีน้ำตาล มีลักษณะร่วนซุยไม่มีกลิ่นเหม็น
การเตรียมวัสดุรองพื้นเพื่อเป็นที่อาศัยของไส้เดือนดิน
ใช้วัสดุอินทรีย์สด เป็นวัสดุรองพื้นหนาประมาณ 6 นิ้ว โดยเน้นส่วนที่เป็นผักสีเขียว วัชพืช ขยะสดโดยจะใช้ปุ๋ยคอกโรยบนหน้า ให้หนาประมาณ 2 นิ้ว โรยปูนขาวให้ทั่วบริเวณ แล้วจึงให้ความชื้นเล็กน้อยประมาณ 20%ของน้ำหนักขยะสดหรือให้เปียกชุ่มแต่ไม่ให้มีน้ำ แช่ขังทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน จะพบว่าเกิดขบวนการหมัก สังเกตได้โดยมีความร้อนที่สูงขึ้นทิ้งไว้ประมาณ 4-6 สัปดาห์ความร้อนที่เกิดขึ้นจะ หายไปหรืออาจจะเร็วกว่านี้ ถ้ามีการหมักในกองที่มีความหนาน้อยกว่าที่กำหนดไว้ การหมักที่สมบูรณ์จะทำวัสดุมีสีเข้มจนเป็นสีน้ำตาล มีลักษณะร่วนซุยไม่มีกลิ่นเหม็น
การเริ่มต้นเลี้ยงไส้เดือนดิน ในระยะเตรียมการจึงควรมีปริมาณไส้เดือนดินอย่างน้อย 1 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 4 – 6 สัปดาห์ ก็จะทำให้ปริมาณไส้เดือนเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว และทวีจำนวนมากขึ้นสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
ปริมาณอาหารที่ให้ไส้เดือน โดยปกติไส้เดือนดินชอบอาหารที่มีปริมาณโปรตีนสูง รวมถึงในดินที่มีปริมาณอินทรียวัตถุจำนวนมาก ไส้เดือนดินสายพันธุ์ไทย Pheretima peguana และ Pheretima posthuma จะกินอาหารเฉลี่ย 120-150 มก./น้ำหนักตัว 1 กรัมต่อวัน และ พบว่าไส้เดือนดินสายพันธุ์ Lumbricus rubellus และ Eisenia foetida จะกินอาหารประมาณ 240-300 กรัมต่อวัน ต่อน้ำหนักไส้เดือน 1 กิโลกรัม ซึ่งเป็นจำนวน 2 เท่าของอาหารไส้เดือนดินสายพันธุ์ไทย
การให้อาหารที่เป็นเศษอินทรียวัตถุกับไส้เดือนดินในบ่อเลี้ยง นำขยะสดจากชุมชนมาแยกวัสดุที่ไม่ย่อยสลายเช่นถุง พลาสติกต่างๆ ออก ปริมาณขยะสดที่ควรเตรียมให้ไส้เดือนดิน ควรจะมีการเตรียมการหมักให้เริ่มบูดเสียก่อน นำมาใส่ในบ่อเลี้ยงไส้เดือนความหนาไม่เกิน 10 เซนติเมตร เนื่องจากถ้าหนามากกว่านี้ จะทำให้เกิดความร้อน
การแยกไส้เดือนออกจากปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การใช้แสงไฟไล่ ใช้ตะแกรงร่อนด้วยมือ ในกรณีที่มีมูลไส้เดือนปริมาณน้อย และใช้เครื่องร่อนขนาดใหญ่ ทำงานด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ช่วยแยกไส้เดือนดินออกมาจากกองปุ๋ยหมักในกรณีที่มีปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินในปริมาณมาก


ปัญหาและการจัดการโรงเรือนเลี้ยงไส้เดือนดิน
ความร้อน จัดการโดยควบคุมความหนาของขยะที่ให้
กลิ่น การจัดการสามารถใช้น้ำหมักมูลไส้เดือนในบ่อ หรือใช้กากน้ำตาลรดก็สามารถกำจัดกลิ่นได้
บ่อเลี้ยงมีสภาพเป็นกรด แก้ไขได้โดยการใช้ปูนขาวโรยบางๆ บริเวณผิวดิน และรดน้ำตามเดือนละครั้ง
แมลงศัตรูของไส้เดือนดิน เช่น เป็ด ไก่ นก พังพอน กบ หนู งู


การจัดการโรงเรือน
ในขณะที่ไส้เดือนกำลังกินขยะสดที่ให้ในปริมาณที่เหมาะสม จะพบว่าชั้นของไส้เดือนในกระบะจะมีความสูงมากขึ้นเรื่อยๆ การจัดการอาหารที่ให้กับไส้เดือนดินกินหมดในระยะเวลา 2-3 วัน จึงเป็นสิ่งที่เหมาะสม ทำให้สามารถคำนวณจำนวนของไส้เดือนดินที่มีอยู่ในโรงเรือนได้ อีกทั้งยังทำให้กำหนดปริมาณของปุ๋ยหมักจากมูลไส้เดือนดิน และน้ำหมักจากมูลไส้เดือนดินที่สามารถผลิตได้อีกด้วย
"หลักการในการจัดการโรงเรือนก็คือ การพยายามควบคุมไม่ให้เกิดความร้อนขึ้นในกระบะที่ไส้เดือนดินอาศัยอยู่ เนื่องจากจะเป็นสิ่งที่จำกัดการเจริญเติบโตของไส้เดือนดิน และลดจำนวนไส้เดือนดิน รวมถึงลดการกินขยะสดที่จัดเตรียมเอาไว้ด้วย"
สำหรับเทคนิคการแยกไส้เดือนดินออกจากปุ๋ยหมักมูลสัตว์ชนิดนี้นั้น ดร.อานัฐ บอกว่าสามารถทำได้หลายเทคนิค เช่น การใช้แสงไฟไล่ เนื่องจากไส้เดือนดินไม่ชอบแสง หรือใช้ตะแกรงร่อนด้วยมือก็ได้ ใครอยากเห็นการเลี้ยงไส้เดือนดินด้วยสายตาตัวเอง โปรดติดต่อไปได้ที่ ภาควิชาทรัพยากรดินและสิ่งแวดล้อม คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม้โจ้ ที่นี่มีโรงเรือนเลี้ยงไส้เดือนดินทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ไม่แน่ขยะที่เป็นปัญหาของสังคมเมือง อาจแก้ไขได้ด้วยไส้เดือนดิน สัตว์ที่หลายคนรังเกียจ แต่มีประโยชน์มหาศาล

รูปแบบโรงเรือน / การเลี้ยงไส้เดือนดิน แบบต่างๆ







ที่มา : http://www.thaiworm.com/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=2&Id=406435
อาหารจากไส้เดือน
ไส้เดือนดินเคยถูกนำมาใช้เป็นอาหารของมนุษย์ด้วย โดยถือว่าเมนูอาหารที่ทำจากไส้เดือนดินเป็นอาหารที่หรูหราและแปลก ซึ่งได้รับความสนใจมากในประเทศนิวซีแลนด์ นอกจากนี้พบว่าในประเทศญี่ปุ่นก็เคยนำไส้เดือนดินมาทำพาย และในฟาร์มเลี้ยงไส้เดือนดินขนาดใหญ่เคยนำไส้เดือนดินมาทอดกับไข่ ถือว่าเป็นอาหารจานพิเศษ ในภัตตาคารบางแห่ง และนอกจากนี้เคยมีรายงานจากแอฟริกาใต้ว่ามีการกินไส้เดือนดินย่างและยังคงกินอยู่ในปัจจุบัน และชนพื้นเมืองในยุคแรกจากนิวกีนีและบางส่วนของแอฟริกาเคยมีรายงานว่ากินไส้เดือนดินเป็นอาหารด้วยเช่นกัน ซึ่งพวกเขาเชื่อว่าไส้เดือนดินเป็นแหล่งอาหารของมนุษย์และในไส้เดือนดินมีคุณค่าทางอาหารสูงโดยเฉพาะโปรตีนในไส้เดือนดินมีปริมาณมากกว่าเนื้อสัตว์อื่นๆ
นอกจากนี้ เคยมีรายงานหลายฉบับเกี่ยวกับการกินไส้เดือนดิน เพื่อเป็นยารักษาโรค เช่น นิ่ว ดีซ่าน ริดสีดวงทวาร ไข้ ฝีดาษหรือไข้ทรพิษ และในสมัยก่อนเคยมีการใช้เถ้าของไส้เดือนดินทำเป็นผงยาสีฟัน หรือใช้บำรุงผม ด้วย ( ที่มาจาก Strphenson , 1930 ) นอกจากนี้ยังเคยมีการกินไส้เดือนดินเพื่อรักษาการเสริมสมรรถภาพทางเพศของเพศชายที่มีอายุมาก หรือใช้บำรุงหญิงที่เพิ่งคลอดบุตร และใช้ไส้เดือนดินพอกแผลที่ถอนหนามออก นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ได้เคยใช้ไส้เดือนดินในการรักษาด้านการขยายหลอดเลือดด้วย ( ข้อมูลจาก Reynolds and Reynols , 1972 ) และไส้เดือนดินอาจมีส่วนประกอบของสารที่ใช้บำบัดรักษาโรคไขข้อได้
ในประเทศจีนได้มีการใช้ไส้เดือนทำยา รักษาโรคหลายชนิด โดยการนำไส้เดือนดินมาตากแห้ง มาบดเป็นยาผง เข้าสูตรยาต่างๆ สำหรับผลิตเป็นยาบำรุงหรือยารักษาโรค เช่น ในตำราแพทย์แผนโบราณ ใช้ไส้เดือนดินเป็นเครื่องยาอย่างหนึ่ง บางตำราเรียกไส้เดือนดินว่า รากดินหรือไส้ดินก็มี ตำราสรรพคุณยาโบราณได้กล่าวไว้ว่าไส้เดือนดินทั้งตัว (แห้ง ) มีรสเย็น คาว ต้มน้ำดื่ม หรือทำเป็นเม็ด มีสรรพคุณแก้ไข้พิษ ระงับความร้อน แก้อาการเกร็ง แก้ตาแดง แก้อัมพาตครึ่งซีก แก้คอพอก แก้เจ็บปวดตามข้อ และใช้ส่วนขี้เถ้าที่ได้จากการเผาไส้เดือนดิน ซึ่งมีรสเย็น เค็ม มีสรรพคุณแก้ไข แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้ปากคอเปื่อย แก้ทอนซิลอักเสบ แก้ฝีในคอ แก้ปวดกระดูก ( ข้อมูลจาก ชยันต์ และ วิเชียร , 2546 )
นอกจากนี้ชาวจีนยังมีความเชื่อว่าการกินไส้เดือนดินทำให้สมรรถภาพทางเพศของเพศชายดีขึ้นด้วย ทำให้มีการผลิตยาหรืออาหารเสริมที่มีส่วนผสมของไส้เดือนดินออกจำหน่าย เช่น เอิร์ดรากอน ชึ่งเป็นชื่อทางการค้าของยาแผนโบราณที่มีส่วนผสมของไส้เดือนดิน โดยมีอ้างถึงการใช้ไส้เดือนดินสกุล Lumbricus และใช้สมุนไพรพื้นบ้านของประเทศเวียดนาม ทวีปเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึง จีน เกาหลี และเวียดนาม โดยมีสรรพคุณในการเป็นอาหารเสริม ช่วยต้านอนุมูลอิสระ และบำรุงตับ ในราคาขายประมาณ 27 เหรียญสหรัฐ ต่อ 50 แคปซูล
ไส้เดือนดินที่นำมาผลิตเป็นยาขนานต่างๆ เหล่านี้ บางส่วนเป็นไส้เดือนดินตากแห้งที่ส่งออกโดยชาวบ้านในอำเภอนาหว้า ซึ่งได้จับไส้เดือนดินที่หนีน้ำท่วมในฤดูฝนเป็นจำนวนมากโดยสามารถจับได้วันละ 20 กิโลกรัม ซึ่งเมื่อตากแห้งจะเหลือ 3 4- กิโลกรัม และส่งออกไปยังประเทศจีน ปีละกว่า 200 ตัน ซึ่งทำเช่นนี้มานานกว่า 20 ปี นำรายได้เข้าประเทศปีละหลายล้านบาท

ที่มา : http://www.thaiworm.com/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=2&Id=406688


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น